ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงคณิตศาสตรศึกษาของโลกเริ่มตั้งแต่การจัดตั้ง International Commission on Mathematical Instruction: ICMI ขึ้นในปี ค.ศ. 1908 แต่มีบางประเทศเท่านั้นที่ประสบ ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงคณิตศาสตรศึกษาเพื่อการพัฒนาสมรรถนะการแข่งขันของประเทศได้ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้ความพยายามมาตั้งแต่ทศวรรษ 1950s และประสบความสำเร็จแม้ว่าจะเป็นช่วงระยะหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็สามารถน าพาประเทศเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมได้ ส าหรับประเทศไทยก็ได้มีความ พยายามมาโดยตลอดเช่นเดียวกัน แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จที่จะใช้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน ของการพัฒนาประเทศได้ ในความพยายามเหล่านี้ มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในปี พ.ศ. 2545 โดยสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ให้สาขาวิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยของรัฐ จัดทำเครือข่ายการวิจัยใน สาขาวิชานั้น ๆ (Cooperative Research Network: CRN) ในส่วนของสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษาได้แยก ออกมาจากสาขาวิชาคณิตศาสตร์ และจัดตั้งเป็น “เครือข่ายการวิจัยทางด้านคณิตศาสตรศึกษา” (Cooperative Research Network in Mathematics Education) และได้จัดการประชุมทางวิชาการ เครือข่ายคณิตศาสตรศึกษาครั้งที่ 1 (1st Annual Meetings of Cooperative Research Network in Mathematics Education (CRN-MATHED) ในปี พ.ศ. 2547 ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้เป็นพื้นที่ในการนำเสนองานวิชาการของคณาจารย์และนักศึกษา แต่อย่างไรก็ตามการทำงานด้านคณิตศาสตรศึกษายังไม่มีความต่อเนื่อง
เพื่อการต่อยอดการพัฒนาด้านคณิตศาสตรศึกษาของประเทศไทยให้ยั่งยืน ในปี พ.ศ. 2557
สมาคมคณิตศาสตรศึกษาได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งขึ้น และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์การจัดตั้งสมาคม รวมทั้ง
เป็นการเปิดพื้นที่สำหรับคณาจารย์ ครู นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป ให้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ที่มี
ประโยชน์ต่อการพัฒนาคณิตศาสตรศึกษาในประเทศไทย ในการนี้ สมาคมคณิตศาสตรศึกษาจึงจัดการประชุม
วิชาการด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ“การเปลี่ยนแปลงคณิตศาสตรศึกษาของประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 (Transforming Mathematics Education in Thailand for 21st Century)” ระหว่างวันที่ 30-31
มกราคม และ 1 กุมภาพันธ์ 2558 ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการจัดการประชุมครั้งนี้
ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้
(1) การรับฟังการบรรยายและการเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตรศึกษาทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ
(2) การนำเสนอผลงานทั้งแบบโปสเตอร์และแบบบรรยาย จำนวนกว่า 40 ผลงาน และ
(3) การเปิดชั้นเรียน
ขอขอบคุณทุกคนที่ร่วมสร้างประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงด้านคณิตศาสตรศึกษาของประเทศไทยใน
ศตวรรษที่ 21 ครั้งนี้ และหวังว่าจะเป็นการพัฒนาทางด้านคณิตศาสตรศึกษา และเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย